วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

อาณาจักรมอเนอรา (Kingdom Monera)


ลักษณะสำคัญของสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรมอเนอรา

 

       - เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างเซลล์แบบโพรคาริโอต (prokaryotic cell) ในขณะที่สิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ทุกอาณาจักรมีโครงสร้างเซลล์แบบยูคารีโอต (eukaryotic cell) 

        - ไม่มีออร์แกเนลล์ชนิดมีเยื่อหุ้มเช่น ร่างแหเอนโดพลาสซึม กอลจิคอมเพลกซ์ ไลโซโซม คลอโรพลาสต์ มีเฉพาะออร์แกเนลล์ที่ไม่มีเยื่อหุ้มคือไรโบโซม 

        สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้มีความสำคัญอย่างมากต่อระบบนิเวศ
กล่าวคือ กลุ่มแบคทีเรียทำหน้าที่เป็นผู้ย่อยอินทรียสารก่อให้เกิดการหมุนเวียนสารอนินทรีย์และอินทรีย์สารต่างๆ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินทำหน้าที่เป็นผู้ผลิตในระบบนิเวศและสิ่งมีชีวิต 2 กลุ่มนี้ยังมีความสำคัญในแง่เทคโนโลยีชีวภาพซึ่งได้มีการศึกษาวิจัยเพิ่มมากขึ่น เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในด้านการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร อุตสาหกรรม การแพทย์ และการศึกษาพันธุศาสตร์ซึ่งช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชากรให้ดียิ่งขึ้น

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้แบ่งเป็น 2 ไฟลัม คือ 


1. ไฟลัมชิโซไฟตา (Phylum Schizophyta)



    สิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในไฟลัมนี้ได้แก่ แบคทีเรีย
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมซิโซไฟตา คือ

  • มีเซลล์ขนาดเล็ก
  • ลักษณะรูปร่าง มี 3 ลักษณะ คือ
        - รูปร่างกลม เรียกว่า coccus
        - รูปร่างแบบแท่งยาว เรียกว่า bacillus
        - รูปร่าง เกลียว เรียกว่า spirillum
  • เซลล์รูปร่างต่าง ๆ มีการเรียงตัวทำให้เกิดลักษณะเฉพาะ
  • แหล่งที่พบแทบทุกแห่งในดินในน้ำ ในอากาศ แหล่งที่เป็นน้ำพุร้อน เขตหิมะ ทะเลลึก
  • การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการสารอาหาร
  • การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอากาศ
  • การแบ่งแบคทีเรียตามความต้องการอุณหภูมิ


2. ไฟลัมไซยาโนไฟตา (Phylum Cyanophyta)



    ได้แก่ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-green algae) ปัจจุบันเรียกว่า Cyanobacteria
ลักษณะของสิ่งมีชีวิตในไฟลัมไซยาโนไฟตา คือ
  • เซลล์เป็นแบบโพรคาริโอต ไม่มีเยื่อหุ้มนิวเคลียส
  • ภายในเซลล์ไม่มีเม็ดคลอโรพลาสต์ มีแต่คลอโรฟิลล์ เอ แคโรทีน(Carotine)
  • แซนโทฟิลล์(Xanthophyll) ไฟโคอิริทริน(Phycoerythirin) ซึ่งเป็น สารสีแดง ไฟโคไซยานิน
  • (Phycocyanin) ซึ่งเป็นสารสีน้ำเงินจึงทำให้สาหร่ายชนิดนี้เป็นสีเขียวปนน้ำเงิน
  • ผนังเซลล์เป็นสารพวกเพปทิโดไกลแคน คือ มีพอลิแซคาไรด์เกาะอยู่กับเพปไทด์ ผนังเซลล์มักถูหุ้มด้วยเมือก ซึ่งมีลักษณะคล้ายวุ้นทำให้ลื่น
  • อาหารสะสมเป็นสารพวกคาร์โบไฮเดรต คือ ไกลโคเจน (Glycogen) และมีชื่อเฉพาะว่า ไซยาโนไฟเซียน สตาร์ช( Cyanophysean starch)
  • ไม่มีแฟลเจลลา จึงเคลื่อนที่ด้วยตัวเองไม่ได้ 
  • การสืบพันธุ์มีเฉพาะการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศเท่านั้น ได้แก่ การแบ่งตัว การหักหรือขาด
  • สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินมีหลายชนิด เช่น
        -พวกที่เป็นเซลล์เดี่ยวหรือกลุ่ม เช่น ครูโอคอคคัส (Chroococcus) แอนาซีสทีส (Anacystis)
        -ที่เป็นสาย เช่น ออสซิลลาทอเรีย (Oscillatoria) นอสตอก (Nostoc) แอนาบีนา (Anabaena) สไปรูไลนา (Spirulina)